หลังจากมีกระแสออกมาหลายระลอกถึงการตั้งคำถามว่าหินฉี่รักษาโรคได้จริงไหม? ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่าเป็นอายุวัฒนะ ช่วยรักษาโรคมะเร็ง ล้างหน้า แม้กระทั่งใช้เป็นยาหยอดตาเลยทีเดียว
จากข้อมูลบางแห่งอ้างว่ามีการตีพิมพ์ในประเทศเยอมนีในปี พ.ศ.2390 ที่ได้การันตีว่าสูตรยาที่ผสมน้ำปัสสาวะใช้ทารักษาอาการผมร่วงได้ ใช้หยอดตาเพื่อรักษาอาการเจ็บตา หรือใช้กลั้วคอเพื่อแก้อาการเจ็บคอ ประกอบกับความเชื่อของคนไทยโบราณบางกลุ่มที่มีการยึดกันมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นใช้ฉี่ทาหรือราดบริเวณแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน หรือใช้ผ้าอ้อมชุบฉี่กวดลิ้นเด็กเล็กเพื่อแก้อาการฝ้าขาวบนลิ้น เป็นต้น จึงทำให้น้ำหนักของความเชื่อที่ว่ากินฉี่รักษาโรคได้เป็นที่ถกเถียงกันในไทยอยู่หลายครั้งหลายคราว แต่วันนี้มาดูเหตุผลในเชิงการแพทย์แผนปัจจุบันว่ากินฉี่รักษาโรคได้จริงหรือไม่?
ฉี่หรือปัสสาวะ คืออะไร?
ฉี่หรือปัสสาวะ เป็นของเหลวที่ถูกขับออกมาจากร่างกายผ่านกระบวนการทำงานของไต ซึ่งเป็นของเหลวที่ถูกขับออกมามากที่สุดในร่างกาย ตามธรรมชาติฉี่ที่มีการขับออกมาจากร่างกายใหม่ๆ จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะกลายเป็นด่าง ซึ่งจะเริ่มส่งกลิ่นฉุนออกมามากขึ้นจากการที่กรดยูเรียในฉี่นั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย (NH3) รวมไปถึงส่วนประกอบในฉี่นั้นยังประกอบด้วยน้ำประมาณ 95% และยูเรียประมาณ 2% ซึ่งเป็นกลุ่มสารหรือของเสียที่ร่างกายกำจัดออกจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย กรดยูริคการสลายสารอาหารกลุ่มพิวรีน สารประกอบคีโตนจากการสลายไขมัน และสารประกอบอื่นๆ อย่างน้ำตาล โซเดียม คลอไรด์ แคลเซียม และแมกนีเซียม รวมไปถึงยาหรืออนุพันธ์ของยาที่กินเข้าไปและเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนออกมาพร้อมกับฉี่ด้วย
กินฉี่รักษาโรคได้จริงหรือไม่
ในมุมมองของแพทย์การกินฉี่รักษาโรคนั้นอาจถือได้ว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยังไม่มีการยอมรับในทางการแพทย์และยังไม่มีการวินิจฉัยว่าการกินฉี่รักษาโรคได้แต่อย่างใด โดยมีข้อมูลจากกระทรงสาธารณสุขแล้วว่าการกินฉี่รักษาโรคไม่ได้และไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เนื่องจากฉี่หรือแปัสสาวะนั้นเป็นของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคไตหรือหรือโรคหัวใจที่มีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่ออกมาพร้อมกับฉี่ หากดื่มฉี่กลับเข้าไปอีกก็หมายความว่านำเชื้อโรคและของเสียที่ร่างกายขับออกมากลับเข้าไปในร่างกายอีก นอกจากนี้ความอันตรายจะทวีคูณมากขึ้นหากกินฉี่รักษาโรคด้วยฉี่ของผู้อื่น เพราะหากคนๆนั้น เป็นโรคติดต่อหรือเป็นโรคร้ายหากดื่มเข้าไปอาจทำให้ได้รับเชื้อเหล่านั้นเข้าไปด้วย
อันตรายจากการกินฉี่รักษาโรค
เนื่องจากฉี่หรือปัสสาวะมีความเป็นกรดที่มีค่า pH ประมาณ 5 – 6.5 ถ้าหากดื่มเข้าไปในขณะที่ท้องว่างอาจทำให้เกิดผลเสียต่อเยื่อบุผนังลำคอ หลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้ รวมถึงอันตรายจากสารปนเปื้อนที่มาพร้อมกับฉี่ดังที่กล่าวไปข้างต้นและยังอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ต่อร่างกายได้ เช่น
- ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย เวียนศีรษะ
- อาการคลื่นไส้ อาเจียนจากกลิ่นฉุนของแอมโมเนียในฉี่
- คอแห้ง กระหายน้ำจากการได้รับเกลือแร่และข้องเสีย
- อาจเกิดสารพิษหากดื่มฉี่รักษาโรคร่วมกับการกินยาบางประเภท
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- อาจทำให้อาการของโรคเรื้อรังรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคไต โรคหัวใจ โรคตับ โรคเบาหวาน โรคที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันหรือโรคที่จำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย
อย่างไรก็ตาม การกินฉี่รักษาโรคอาจไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายในระดับที่รุนแรงมากนัก แต่ก็ไม่ได้มีส่วนช่วยรักษาโรคได้จริงตามที่กล่าวอ้างกันในปัจจุบัน ซึ่งหากป่วยเป็นโรคหรือมีปัญหาสุขภาพแนะนำว่าควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการให้ตรงจุดมากกว่ากินฉี่รักษาโรคด้วยตนเอง
หากหลายคนที่กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือค่าบริการทางการแพทย์ อาจใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล เช่น ประกันสังคม บัตรทอง หรือประกันสุขภาพที่มีหลากหลายแผนคุ้มครองให้เลือก โดยสามารถซื้อแผนประกันกับ Rabbit Care ที่มีบริการโทรปรึกษาแพทย์ แบบไม่ต้องไปโรงพยาบาลได้ 2 ครั้งต่อปีจาก 30 บริษัทประกันภัยชั้นนำ พร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม.